วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สิ่งแวดล้อมคือ


   
         
 


 สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ประกอบด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่นและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
               ประเภทของสิ่งแวดล้อม มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ (เกษม จันทร์แก้ว,2525 อ้างถึงใน กนก จันทร์ทอง, 2539)
               1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
                  สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า ฯลฯ สิ่งแวดล้อมประเภทนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอาจใช้เวลาเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดและประเภท
                  สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
                        1) สิ่งมีชีวิต (Biotic Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ มีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตเช่น พืช สัตว์และมนุษย์เราอาจจะเรียกว่าสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) ก็ได้
                       2) สิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ไม่มีชีวิต อาจจะมองเห็นหรือไม่ก็ได้ เช่น ดิน น้ำ ก๊าซ อากาศ ควัน แร่ธาตุ เมฆ รังสีความร้อน เสียง ฯลฯ เราอาจเรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ได้เช่นกัน
              2.  สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
                  สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Make Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้รับการสั่งสอน สืบทอด และพัฒนากันมาตลอด ซึ่ง ได้แบ่งไว้ 2 ประเภทคือ
                       1) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือสิ่งแวดล้อมที่สามารถมองเห็นได้ เช่น บ้านเรือน เครื่องบิน โทรทัศน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก หรือตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิต บางอย่างอาจมีความจำเป็น แต่บางอย่างเป็นเพียงสิ่งฟุ่มเฟือย
                      2) สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Social Environment) หรือ ( Abstract Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบสำหรับอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สิ่งแวดล้อมทางสังคมได้แก่ระบอบการปกครอง ศาสนา การศึกษา อาชีพ ความเชื่อ เจตคติ กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ระเบียบข้อบังคับ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็นจะแสดงออกมเป็นรูปพฤติกรรม                                  


สิ่งแวดล้อมกับมนุษย์
             มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้
กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
         o  ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ
         o  ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา
         o  ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย



















องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตชีวิต

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบขึ้นจากหน่วยเล็กๆ เรียกว่า เซลล์(cell) ซึ่งแต่ละส่วนของร่างกายจะประกอบด้วย เซลล์จำนวนมาก ร่างกายของเราประกอบด้วยเซลล์ประมาณ50ล้านเซลล์สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กบางชนิดที่มอง ด้วยตาเปล่าไม่เห็น(microscopic organism) จะประกอบขึ้นด้วยเซลล์เพียง 1 เซลล์ เซลล์ถูกค้นพบครั้งแรก ในศตวรรษที่17โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ โรเบิร์ต ฮุค เซลล์ส่วนใหญ่จะมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ กำลังขยายสูง เซลล์บางชนิดมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ทุกชนิดจะมีลักษณะพื้นฐานเหมือนกัน แต่ละส่วนก็จะ มีหน้าที่เฉพาะที่ต้องทำ                             

                                                 
                                       1. นิวเคลียส


    1.สิ่งกีดกั้นการเข้าออก(เยื่อหุ้มเซลล์หรือเซลล์เมมเบรน)เยื่อหุ้มเซลล์จะทำหน้าที่ กำหนดว่าสารใดเข้าออก จากเซลล์มันจะยอมให้สารที่มีประโยชน์ ผ่านเช้าและปล่อยของเสียออก                            

    2.ศูนย์ควบคุม(นิวเคลียส)กิจกรรม ต่างๆภายในเซลล์ถูกควบคุมโดย คำสั่งจากนิวเคลียส     

    3.นิวเคลียสเส้นเล็กๆยาวคล้ายเส้นด้าย เรียกว่า โครโมโซม(Chromosomes) โครโมโซมประกอบด้วย สารเคมีเชิงซ้อน DNA โดย DNA ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดในเซลล์                      

     4.สารเคมีที่เรียกว่า RNAจะนำคำสั่งจากนิวเคลียส ไปยังเซลล์ส่วนอื่นๆ     



                                                           2. ไซโตพลาสซึม


      5.พื้นเซลล์(ไซโตพลาสซึม) ไซโตพลาสซึม(Cytoplasm)เป็นสารซึ่งมีส่วนต่างๆ ของเซลล์แขวนลอยอยู่
     
      6.แหล่งรวบรวม(กอลจิบอดี) สารบางอย่าง ที่เซลล์สร้างขึ้นจะถูกรวบรวมและสะสมไว้ในกอลจิบอดี(Golgi body)


      7.แหล่งผลิตพลังงาน(ไมโตคอนเดรีย) ไมโตคอนเดรีย(Mitochondria)จะ ปลดปล่อยพลังงานจากอาหาร


      8.หน่วยกำจัดของเสีย(ไลโซโซม) ไลโซโซม(lsosomey)จะทำลายวัตถุที่เป็นของเสียและมีอายุมาก ตลอดจนส่วนของเซลล์ที่สึกหรอ

      9.ไรโบโซม(ribosomes)ซึ่งเกาะอยู่บนร่างแหเอนโดพลาซึม(endoplasm reticulum) ไรโบโซมทำหน้าที่ สร้างสารโปรตีนซึ่งร่างกายต้องการ